เคมี (อังกฤษ: chemistry) เป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาในเรื่องของสสาร โดยไม่เพียงแต่ศึกษาเฉพาะในเรื่องของปฏิกิริยาเคมี แต่ยังรวมถึงองค์ประกอบ โครงสร้างและคุณสมบัติของสสารอีกด้วย การศึกษาทางด้านเคมีเน้นไปที่อะตอมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างอะตอมกับอะตอม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสมบัติของพันธะเคมี
บางครั้ง เคมีถูกเรียกว่าเป็นวิทยาศาสตร์ศูนย์กลาง เพราะเป็นวิชาช่วยที่เชื่อมโยงฟิสิกส์เข้ากับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติสาขาอื่น เช่น ธรณีวิทยาหรือชีววิทยา ถึงแม้ว่าเคมีจะถือเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์กายภาพแต่ก็มีความแตกต่างจากวิชาฟิสิกส์ค่อนข้างมาก
มีการถกเถียงกันอย่างมากมายถึงต้นกำเนิดของเคมี สันนิษฐานว่าเคมีน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากการเล่นแร่แปรธาตุซึ่งเป็นที่นิยมกันมาอย่างยาวนานหลายสหัสวรรษในหลายส่วนของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตะวันออกกลาง
ประวัติศาสตร์
วิวัฒนาการของวิชาเคมีแบ่งออกเป็นยุคต่างๆ ดังนี้
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ - ค.ศ. 500
- ชาวอียิปต์เป็นชนชาติแรกที่รู้จักใช้วิธีการทางเคมี และคำว่า Chemeia มีปรากฏในภาษาอียิปต์
- เดโมคริตัส (นักปราชญ์ชาวกรีก) แสดงความคิดเห็นในเรื่องโครงสร้างของสารโดยคิดหาเหตุผลเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ทำการทดลองประกอบให้เห็นจริง
- อริสโตเติล รวบรวมทฤษฎีเกี่ยวกับสสาร โดยสรุปว่า สสารต่างๆ ประกอบขึ้นด้วยธาตุ 4 อย่าง คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ในสัดส่วนที่ต่างกันสำหรับสสารที่ต่างชนิดกัน
ยุคการเล่นแร่แปรธาตุ ค.ศ. 500 - ค.ศ. 1500
- ดูบทความหลักที่ การเล่นแร่แปรธาตุ
- นักเคมีสนใจในเรื่องการเล่นแร่แปรธาตุให้เป็นทองคำ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ประมาณ ค.ศ. 1100
- ความรู้ทางเคมีได้แพร่เข้าสู่ยุโรป ในปลายยุคนี้นักเคมีล้มเลิกความสนใจการเล่นแร่แปรธาตุ
- เริ่มสนใจค้นคว้าหายาอายุวัฒนะที่ใช้รักษาโรค
ยุคการเสาะแสวงหายาอายุวัฒนะ (ค.ศ. 1500 - 1600)
- เป็นยุค Latrochemistry
- นักเคมีพยายามค้นคว้าหายาอายุวัฒนะและบรรดายารักษาโรคต่างๆ
ยุคปัจจุบัน (ค.ศ. 1627 - 1691)
- เริ่มต้นจาก Robert Boyle "ศึกษาเคมีเพื่อเคมี"
- Robert Boyle "ศึกษาเคมีเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของเคมีโดยเฉพาะ" และ "ใช้วิธีการทดลองประกอบการศึกษาเพื่อทดสอบความจริงและทฤษฎีต่างๆ"
- เลิกล้มทฤษฎีของอริสโตเติลที่เกี่ยวกับดิน น้ำ ลม ไฟ
- ลาวัวซิเยร์ (ค.ศ. 1743 - 1794) เป็นผู้ริเริ่มเคมียุคปัจจุบัน
- สตาฮ์ล (Stahl : ค.ศ. 1660 - 1734) ตั้งทฤษฎีฟลอจิสตัน (Phlogiston Theory)
- ลาวัวซิเยร์ ตั้งทฤษฎีแห่งการเผาไหม้ขึ้น ยังผลให้ทฤษฎีฟลอจิสตันต้องเลิกล้มไป
- John Dalton (ค.ศ. 1766 - 1844) ตั้งทฤษฎีอะตอม ซึ่งเป็นรากฐานของเคมีสมัยใหม่ แต่ทฤษฎีอะตอมก็ต้องล้มเลิกไป เนื่องจากอะตอมที่แสดงพฤติกรรมได้ทั้งอนุภาคและคลื่น
สาขาวิชาย่อยของวิชาเคมี
วิชาเคมีมักแบ่งออกเป็นสาขาย่อยหลัก ๆ ได้หลายสาขา นอกจากนี้ยังมีสาขาทางเคมีที่มีลักษณะที่ข้ามขอบเขตการแบ่งสาขา และบางสาขาก็เป็นสาขาที่เฉพาะทางมาก
- เคมีวิเคราะห์
- เคมีวิเคราะห์ (Analytical Chemistry) คือการวิเคราะห์ตัวอย่างสาร เพื่อศึกษาส่วนประกอบทางเคมีและโครงสร้าง.
- ชีวเคมี
- ชีวเคมี (Biochemistry) คือการศึกษาสารเคมี ปฏิกิริยาเคมี และ ปฏิสัมพันธ์ทางเคมีที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต
- เคมีอนินทรีย์
- เคมีอนินทรีย์ (Inorganic Chemistry) คือการศึกษาคุณสมบัติและปฏิกิริยาของสารประกอบอนินทรีย์ อย่างไรก็ตามการแบ่งแยกระหว่างสาขาทางอินทรีย์และสาขาอนินทรีย์นั้น ไม่ชัดเจน และยังมีการเหลื่อมของขอบเขตการศึกษาอยู่มาก เช่นในสาขา organometallic chemistry
- เคมีอินทรีย์
- เคมีอินทรีย์(Organic Chemistry) คือการศึกษาโครงสร้าง, สมบัติ, ส่วนประกอบ และปฏิกิริยาเคมี ของสารประกอบอินทรีย์
- เคมีฟิสิกส์
- เคมีเชิงฟิสิกส์(Physical Chemistry) คือการศึกษารากฐานทางกายภาพของระบบและกระบวนการทางเคมี ตัวอย่างที่เห็นก็เช่น นักเคมีเชิงฟิสิกส์มักสนใจการอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในเชิงของพลังงาน สาขาที่สำคัญในกลุ่มนี้รวมถึง
- เคมีอุณหพลศาสตร์ (chemical thermodynamics)
- เคมีไคเนติกส์ (chemical kinetics)
- เคมีควอนตัม (quantum chemistry)
- กลศาสตร์สถิติ (statistical mechanics)
- สเปกโตรสโคปี (spectroscopy)
- เคมีถวิล
- คือการศึกษากระบอกไม้ไผ่ที่เป็นแหล่งกำเนิดถวิล
- สาขาอื่นๆ
- เคมีบรรยากาศ (Atmospheric chemistry)
- เคมีดาราศาสตร์ (Astrochemistry)
- เคมีการคำนวณ (Computational chemistry)
- เคมีไฟฟ้า (Electrochemistry)
- เคมีสิ่งแวดล้อม (Environmental chemistry)
- ธรณีเคมี (Geochemistry) ,
- วัสดุศาสตร์ (Materials Science)
- เคมีเวชภัณฑ์ (Medicinal chemistry)
- ชีววิทยาโมเลกุล (Molecular Biology)
- พันธุศาสตร์โมเลกุล (Molecular genetics)
- เคมีนิวเคลียร์ (Nuclear chemistry)
- ปิโตรเคมี (Petrochemistry)
- เภสัชวิทยา (Pharmacology)
- เคมีพอลิเมอร์ (Polymer chemistry)
- โลหะอินทรีย์เคมี (Organometallic chemistry)
- ซูปราโมเลกุลาร์เคมี (Supramolecular chemistry)
- เคมีพื้นผิว (Surface chemistry)
- เคมีความร้อน (Thermochemistry)
No comments:
Post a Comment